ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดเกาะวาลุการาม วาดโดย ป.สุวรรณสิงห์ แสดงเหตุการณ์เพลิงไหม้ ด้านขวามือจะเห็นขัวแตะข้ามจากวัดไปยังอีกฟากฝั่งแม่น้ำ ที่มา ภาณุพงษ์ เลาหสม. "จิตรกรรมฝาผนังล้านนา", กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2540, น.143

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2551

ความเคลื่อนไหวทางศิลปวัฒนธรรม ทศวรรษ2530-2540

ทศวรรษที่ 2530 :
2530

1)งานประเพณีแห่สลุงหลวง ครั้งที่1 โดย ชมรมเทิดมรดกเขลางค์ [1]
2)การต่อสู้มิให้ถมหนองบริเวณวัดกู่คำ โดย ศักดิ์ รัตนชัย [2]
3)เริ่มตีพิมพ์บทความ “ศิลปวัฒนธรรม” ธีรศักดิ์ วงศ์คำแน่น ลงใน หนังสือพิมพ์สยามโพสต์[3]
4)สร้างป้ายคอนกรีตเสริมเหล็กติดตั้งบริเวณโบราณสถาน โดย ธีรศักดิ์ วงศ์คำแน่น [4]
5)ดำเนินการตกแต่งภายในบ้านเสานักและย้าย ยุ้งข้าวโบราณจากบ้านกล้วยมาไว้ โดย วลัย ลีลานุช [5]

2531
1)งานวิจัยสถาปัตยกรรมสำคัญเมืองลำปางกับการอนุรักษ์ โดย ธีรศักดิ์ วงศ์คำแน่น และประสงค์ แสงแก้ว [6]
2)ขบวนแห่จุมพระสมโภชเนื่องในโอกาสที่วัดพระแก้วฯ จังหวัดลำปางและอื่นๆ ได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวง คล้ายกับคราวที่ ฉลองวัดบุญวาทย์วิหารได้เป็นพระอารามหลวง[7]
3)"แบบแผนบ้านเรือนไทยในสยาม" โดย น. ณ ปากน้ำ ได้บรรยายถึงอาคารหม่องหง่วยสิ่นว่าเป็น “อาคารขนมปังขิงริมถนนที่งดงามที่สุดในประเทศไทย”[8]

2532
วิหาร วัดสบลี ต.แจ้ซ้อน อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ได้รับ "รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น"ของ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ [9]

2533
1)จัดสร้างสลุงหลวงขึ้น เพื่อสร้างจุดเด่นและ “เอกลักษณ์” ให้แก่เมืองลำปาง โดย ชมรมเทิดมรดกเขลางค์[10]
2)สร้างอนุสาวรีย์พระยาพรหมโวหาร โดย พุทธสมาคมลำปาง

2534
การสัมมนาวิชาการ “ประวัติศาสตร์และโบราณคดีนครลำปาง” โดย วิทยาลัยครูลำปาง[11]

2535
1)15 มกราคม ไฟไหม้เจาง์ หรือวิหาร วัดศรีชุม[12]
2)เจดีย์วัดพระธาตุหมื่นครื้น(ร้าง) หักพังลงมา[13]
3)ตราพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535
4)งานวิจัย ภูมินามท้องถิ่นจังหวัดลำปาง โดย สุรีย์รัตน์ หาญคำ [14]

2536
1)รวมเล่ม ร้อยเรื่องเมืองลำปาง : รวมบทความนำลงคอลัมน์ "ศิลปวัฒนธรรม" หนังสือพิมพ์สยามโพสต์ ลำปาง พ.ศ.2530-2536 โดย ธีรศักดิ์ วงศ์คำแน่น
2)สถานีรถไฟนครลำปางได้รับ "รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น"ของ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ [15]
3)อนุสรณ์คุณหญิงวลัย ลีลานุช[16]
4)ก่อสร้างท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ทำให้อาคารฟองหลีทรุดตัว เทศบาลเมืองลำปาง แยกออกเป็นรอยร้าวขนาดใหญ่ 24 ส.ค.37 ผนังอาคารหน้าจั่ว ด้านทิศตะวันตกพังทลายลง ขณะที่ฝนตกหนัก[17]

2537
1)ฟื้นฟูประเพณีล่องสะเพาชาวเวียงละกอน โดย เทศบาลเมืองลำปาง [18]
2)การขุดค้นแหล่งโบราณคดีดอยผาชีในแอ่งแม่เมาะรวมถึงบริเวณ หน่วยศิลปากรที่ 4 ต.เมืองมาย อ.แจ้ห่ม และถ้ำในแอ่งแม่ทะ-แม่เมาะ-ประตูผา โดย กรมศิลปากร [19]

2538
1)ก่อตั้งสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง[20]
2)เริ่มบูรณะอาคารฟองหลี 2538-2540 โดย กิติศักดิ์ เฮงษฎีกุล [21]
3)งานหลวงเวียงละกอนจัดเป็นครั้งสุดท้าย จังหวัดลำปาง

2539
1)มหกรรมวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเศก จังหวัดลำปาง วันที่ 23-29 พฤศจิกายน 2539[22]
2)วิทยานิพนธ์การศึกษาเพื่อเสนอแนวทางอนุรักษ์ ชุมชนเมืองลำปาง โดย สุกัญญา เอี่ยมชัย[23]
3)ว่าจ้างให้บริษัทมรดกโลก บูรณะวิหารจามเทวี วัดปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง โดย กรมศิลปากร [24]

ทศวรรษที่ 2540 :
2540

1)สร้างรถบุษบก แก้วสะหรีเขลางค์ โดย เทศบาลเมืองลำปาง และสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง [25]
2)วารสารเมืองโบราณ ฉบับ “น้ำแต้ม ลายคำ ลำปาง”[26]
3)อาคารธนาคารไทยพาณิชย์ปรับปรุงเป็น ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขานครลำปาง พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยลำปาง [27] และได้รับ"รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น"ของ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ [28]
4)เรือนเจ้าแม่ยอดคำ ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปางได้รับ "รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น"ของ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ [29]

2541
1)ถนนคนเดินกาดกองต้า ครั้งที่1 โดย จังหวัดลำปาง [30]
2)งานเขียนลำปาง "นครเขลางค์แห่งลุ่มแม่น้ำวัง" โดย กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ [31]
3)งานวิจัย รายงานการศึกษาสำรวจแหล่งชุมชนโบราณวัดพระธาตุลำปางหลวง โดย ประสงค์ แสงแก้ว
4)พบแหล่งโบราณคดีประตูผา โดย พ.ต.ชูเกียรติ มีโฉม[32]

2542
งานวิจัยโครงการศึกษาสำรวจกำหนดแนวทางอนุรักษ์และ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมเมืองเก่าลำปาง โดย สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและ สิ่งแวดล้อม [33]

2543

1)งานวันที่ระลึกประวัติศาสตร์รถไฟรถม้า ครั้งที่1 โดย จังหวัดลำปาง [34]
2)รวมบทความ ลำปางในมิติทางวัฒนธรรม โดย ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น [35]
3)วิหารจามเทวี วัดปงยางคก ลำปาง ได้รับ"รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น"ของ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ [36]

2544
1)งานวิจัย "ลายคำล้านนา" โดย สุรพล ดำริห์กุล [37]
2)งานวิจัย "วิหารล้านนา" โดย วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ [38]
3)รวมบทความ ลำปางเมื่อห้วงหนึ่งศตวรรษ โดย ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น [39]
4)ศิลปวัฒนธรรม ปก มนุษย์เกาะคา[40]
5) 28 พฤศจิกายน ไฟไหม้ตลาดเก๊าจาว ต.สบตุ๋ย อ.เมือง ลำปาง[41]

2545
1)งานมหกรรมก๋องปู่จา ครั้งที่1 ณ สนามกีฬาจังหวัดลำปาง หนองกระทิง โดย สมาคมชาวเหนือ และบริษัท ปตท.ฯ [42]
2)งานมหัศจรรย์ความเป็นเลิศนครลำปาง 1,322 ปี 24-28 กรกฎาคม จัดนิทรรศการเรื่อง มนุษย์เกาะคา ภาพเขียนสีประตูผา กลองบูชา-พิณเปี๊ยะ บ้านเมืองลำปาง ลำปาง ในอดีต วัด รถม้าหนึ่งเดียวในไทย ฯลฯ โดย ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ฯลฯ [43]
3)ตั้งกระทรวงวัฒนธรรม มีผลทำให้เกิดสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ
4)งานวิจัย "งานช่างสถาปัตยกรรม" โดย ธีรศักดิ์ วงศ์คำแน่น [44]
5)หนังสือ แหล่งโบราณคดียุคดึกดำบรรพ์ที่ประตูผา วลัยลักษณ์ ทรงศิริ และ จังหวัดลำปาง ภาพเขียนสี พิธีกรรม 3,000 ปี ที่ผาศักดิ์สิทธิ์[45] วิวรรณ แสงจันทร์

2546
1)งานฮอมแฮง...แป๋งข่วงเวียงละกอน(เพื่อหอศิลป์) ครั้งที่1 ณ ศาลากลางจังหวัดลำปางหลังเดิม โดยเครือข่ายหอศิลป์ฯและล้านคำลำปาง [46]
2)โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ลานหน้าวัดพระธาตุ จังหวัดลำปาง และ ลำปางหลวง โดย สำนักงานโยธาธิการ และผังเมืองจ.ลำปาง และ ล้านคำลำปาง [47]
3)งานวิจัย การศึกษาการจัดการทรัพยากรทางสังคม และวัฒนธรรม กรณีศึกษาจังหวัดลำปาง โดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง[48]
4) การประชุมเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศูนย์มานุษยวิทยา ภาคเหนือวันที่ 14 - 15 ตุลาคม ณ โรงแรมลำปางเวียงทอง สิรินธรฯ
5) จุลสาร กาสะลอง ฉบับ “90 ปีชาตกาล ปัญญาชนนครลำปาง สำนักศิลปวัฒนธรรม ส.ธรรมยศ” โดย สถาบันราชภัฏลำปาง [49]

2547
1)การประชุมทางวิชาการ เรื่อง ชุมชนโบราณในเขตลุ่มน้ำวัง สรัสวดี อ๋องสกุล (แอ่งลำปาง) 10 พ.ค. ณ โรงแรมลำปางเวียงทอง
2)โครงการการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อตั้งศูนย์ จังหวัดลำปางและ ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง โดย วิทยาลัยโยนก [50]
3)โครงการการศึกษาเพื่อวางกรอบในการปรับปรุง และพัฒนาชุมชนกาดกองต้า(ตลาดจีน)อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดย วิทยาลัยโยนกและ จังหวัดลำปาง [51]
4)งานฮอมแฮง...แป๋งข่วงเวียงละกอน(เพื่อหอศิลป์) ครั้งที่2 ณ ศาลากลางจังหวัดลำปางหลังเดิม โดย คณะทำงานฮอมแฮงเพื่อหอศิลป์นครลำปาง [52]
5)วิทยานิพนธ์ "การศึกษาการรับรู้ของชุมชนต่อคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมในเขตเมือง : กรณีศึกษา เขตเทศบาลนครลำปาง" โดย ทนงศักดิ์ วิกุล [53]
6) อนุสรณ์ นางบุญแถม เดียวตระกูล 18 ธันวาคม 2547 โดย วิถี พานิชพันธ์
ภายในมีบทความ “ประวัติศาสตร์นครรัฐเขลางค์ ในลุ่มแม่น้ำวัง ยุคแว่นแคว้น-นครรัฐ” โดย สรัสวดี อ๋องสกุล และ “ร้อยลายสายละกอน” โดย วิถี พานิชพันธ์
7) กรณีวิพากษ์ระดับประเทศ เรื่องโรงแรม แมนดาริน โอเรียนเต็ล ดาราเทวี กับ การนำส่วนประกอบของวัดไปใช้ เช่น วัดไหล่หินหลวง อ.เกาะคา ลำปาง ซุ้มประตูโขง วัดพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง[54]

2548
1)เวทีพิจารณ์ การจัดตั้งหอศิลปวัฒนธรรม จังหวัดลำปาง ครั้งที่ 2 จังหวัดลำปางและ 6 กันยายน 2548 ณ โรงแรมเวียงลคอร มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนดุสิต ศูนย์ลำปาง
2)โครงการสัปดาห์เมืองเก่าสัญจรนครลำปาง โดย สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม(สผ.), สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง (สวล.ภาคที่ 2 ลป.) และล้านคำลำปาง [55]
3)ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และพัฒนา เมืองเก่าลำปางโดย เทศบาลนครลำปางและสวล. ภาคที่ 2 ลป. [56]
4)โครงการบูรณะวิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปงสนุก โดย ชุมชนปงสนุก, คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตพะเยา [57]
5)ถนนคนเดินกาดกองต้า ครั้งที่2 โดย เทศบาลนครลำปาง และชุมชนกาดกองต้าเหนือ – ใต้
6)โครงการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังวัดบ้านก่อ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง โดย คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ และสถานทูตอเมริกัน ประเทศไทย [58]
7)ผลงานปริวรรต "ประชุมตำนานลำปาง" โดย สรัสวดี อ๋องสกุล [59]
8) 16-22 พ.ค. ปิดซ่อมสะพานรัษฎาภิเศก เนื่องจากรถ บรรทุกชนคานบนเสียหายเมื่อ 10 พ.ค. โดย เทศบาลนครลำปาง

2549
1)เปิดตัวโครงการเมืองเก่านครลำปาง 25 ก.พ. ล้านคำลำปาง
2)เผยแพร่แผนที่มรดกทางวัฒนธรรมนครลำปาง โดย ล้านคำลำปาง และ สผ.
3)โครงการยุทธศาสตร์อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่านครลำปาง โปรแกรมพัฒนาชุมชน : การมีส่วนร่วมของชุมชนเขตเทศบาลนครลำปาง โดย ม.ราชภัฏลำปาง [60]
4)โครงการยุทธศาสตร์รถม้าลำปาง เทศบาลนครลำปาง
5)สะพานรัษฎาภิเศก ถูกรถบรรทุกชนคานบนอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 20 พ.ย. คราวนี้ฝั่งหัวเวียงที่จะข้ามไปเวียงเหนือ
6)มีแนวคิดที่จะปรับปรุงวัฒนธรรม ในสวนสาธารณะเชลางค์นคร เทศบาลนครลำปาง เพื่อจัดทำนิทรรศการเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ และคณะวิจิตรศิลป์มช.
7)โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ คณะวิจิตรศิลป์ มช. มรดกทางสถาปัตยกรรม ครั้งที่ 1 กรณีศึกษา วัดปงสนุก จ.ลำปาง นำไปสู่โครงการย่อยต่างๆ เช่น การสำรวจรังวัด การจัดทำหุ่น จำลอง การจัดทำแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์สามมิติ ฯลฯ โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะมัณฑศิลป์ ม.ศิลปากร โปรแกรมวิชาสถาปัตยกรรม ม.ราชภัฏเชียงราย [61]
8) โครงการก่อสร้างศาลเจ้าพ่อลิ้นก่าน ธันวาคม 2549 – กุมภาพันธ์ 2550 โดย อนุกูล ศิริพันธุ์และเทศบาลนครลำปาง
9) กรณีการรถไฟแห่งประเทศไทยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบริเวณตลาดเก๊าจาว โดยอ้างว่าไม่ปลอดภัยต่อการอยู่อาศัย[62] ขณะที่เทศบาลนครลำปางก็ได้รับหนังือสั่งการจากการกระทรวงมหาดไทยให้ดูแล แล้วทำหนังสือ ให้วิศวกรกำกับการกองบำรุงทาง เขตลำปาง ให้รื้อถอนอาคารและปรับปรุงซ่อมแซมอาคารให้ปลอดภัย[63]
...........................
เชิงอรรถ
[1] สรณ มรกตวิจิตรการ. “สลุงหลวง” ใน อนุสรณ์ คุณหญิงวลัย ลีลานุช, 2536, น.50
[2] ธีรศักดิ์ วงศ์คำแน่น. เชิดชูเกียรติ ศักดิ์ รัตนชัย ..., 2530, น.6
[3] ธีรศักดิ์ วงศ์คำแน่น. ร้อยเรื่องเมืองลำปาง : รวมบทความนำลงคอลัมน์ "ศิลปวัฒนธรรม" หนังสือพิมพ์สยามโพสต์ ลำปาง พ.ศ.2530-2536 (กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา), 2537.
[4] ธีรศักดิ์ วงศ์คำแน่น, ร้อยเรื่องเมืองลำปาง ..., น.79
[5] วิถี พานิชพันธ์. “บ้านเสานัก” ใน อนุสรณ์ คุณหญิงวลัย ลีลานุช, 2536, น.18-19
[6] ธีรศักดิ์ วงศ์คำแน่น และประสงค์ แสงแก้ว. สถาปัตยกรรมสำคัญเมืองลำปางกับการอนุรักษ์ , โครงการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในเขตเมือง หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดลำปาง สหวิทยาลัยล้านนา, 2531.
[7] ธีรศักดิ์ วงศ์คำแน่น, บรรณาธิการ. อาลัมพางค์, 3(2531)
[8] น. ณ ปากน้ำ. แบบแผนบ้านเรือนในสยาม (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ), 2543, น.225 พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2531
[9]“ดรรชนีรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่นแยกตามปีพุทธศักราช” ใน อาษา, 2(2544), น.47
[10] สรณ มรกตวิจิตรการ. “สลุงหลวง” ใน อนุสรณ์ คุณหญิงวลัย ลีลานุช, 2536, น.51
[11] ประวัติศาสตร์และโบราณคดีนครลำปาง : การสัมมนาวิชาการ : 14-16 สิงหาคม 2534 ณ หอประชุมบัวตอง วิทยาลัยครูลำปาง สหวิทยาลัยล้านนา จังหวัดลำปาง (ลำปาง : ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยครูลำปาง สหวิทยาลัยล้านนา), 2534.
[12]ระวิวรรณ ภาคพรต, บรรณาธิการ. “วัดพม่าในเมืองลำปาง” ใน ลำปาง : นครเขลางค์แห่งลุ่มน้ำวัง (กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ), กระทรวงศึกษาธิการ, 2541 , น.85
[13]ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). "พิพิธภัณฑสถานเขลางค์นคร" [ระบบออนไลน์], (แหล่งที่มา) http://www4.sac.or.th/museumdatabase/detail_museum.php?get_id=34-005
[14] สุรีย์รัตน์ หาญคำ. ภูมินามท้องถิ่นจังหวัดลำปาง , โครงการศึกษา ค้นคว้าวิจัยทางวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดลำปาง ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยครูลำปาง สหวิทยาลัยล้านนา, 2535?
[15]“ดรรชนีรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่นแยกตามปีพุทธศักราช” ใน อาษา, 2(2544), น.47
[16] อนุสรณ์ คุณหญิงวลัย ลีลานุช (ลำปาง : จิตวัฒนาการพิมพ์), 2536?
[17] ทนงศักดิ์ วิกุล. การศึกษาการรับรู้ของชุมชนต่อคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมในเขตเมือง : กรณีศึกษา เขตเทศบาลนครลำปาง วิทยานิพนธ์ การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยี เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง พ.ศ.2547, น.145
[18] ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น. “ ‘ล่องสะเพา ชาวเวียงละกอน..., 2544, น.174
[19] วลัยลักษณ์ ทรงศิริ และวิวรรณ แสงจันทร์. แหล่งโบราณคดียุคดึกดำบรรพ์ที่ประตูผา จังหวัดลำปาง ภาพเขียนสี พิธีกรรม 3,000 ปี ที่ผาศักดิ์สิทธิ์ (กรุงเทพฯ : มติชน), 2545, น. 22
[20] ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น. “ ‘ล่องสะเพา ชาวเวียงละกอน..., 2544, น.162-163
[21] สัมภาษณ์ กิติศักดิ์ เฮงษฎีกุล, 7 พฤษภาคม 2551
[22] สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. มหกรรมวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเศก วันที่ 23-29 พฤศจิกายน 2539 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ตุรุสภา), 2539.
[23] สุกัญญา เอี่ยมชัย. การศึกษาเพื่อเสนอแนวทางอนุรักษ์ชุมชนเมืองลำปาง วิทยานิพนธ์การผังเมืองมหาบัณฑิต ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
[24] กรมศิลปากรและบริษัท มรดกโลก จำกัด. “การอนุรักษ์วิหารจามเทวี วัดปงยางคก” ใน อาษา, 2(2544), น.30-35
[25] บทบรรณาธิการ ใน หนังสือพิมพ์ ฅนเมืองเหนือ ฉบับวันที่ 21-27 พฤศจิกายน พ.ศ.2548, น.3
[26] เมืองโบราณ, 2(2540)
[27] ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). "พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยลำปาง" [ระบบออนไลน์], (แหล่งที่มา) http://www4.sac.or.th/museumdatabase/detail_museum.php?get_id=34-006&word=%25
[28]“ดรรชนีรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่นแยกตามปีพุทธศักราช” ใน อาษา, 2(2544), น.48
[29]“ดรรชนีรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่นแยกตามปีพุทธศักราช” ใน อาษา, 2(2544), น.48
[30] กิติศักดิ์ เฮงษฎีกุล, แผ่นพับประชาสัมพั นธ์ พิพิธภัณฑสถานจีน (ลำปาง : สหกิจการพิมพ์)., 2541?
[31] ระวิวรรณ ภาคพรต, บรรณาธิการ. ลำปาง : นครเขลางค์แห่งลุ่มน้ำวัง (กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ), กระทรวงศึกษาธิการ, 2541 .
[32] วลัยลักษณ์ ทรงศิริ และวิวรรณ แสงจันทร์. แหล่งโบราณคดียุคดึกดำบรรพ์ที่ประตูผา จังหวัดลำปาง ภาพเขียนสี พิธีกรรม 3,000 ปี ที่ผาศักดิ์สิทธิ์ (กรุงเทพฯ : มติชน), 2545, น. 22
[33] สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาสำรวจกำหนดแนวทางอนุรักษ์และปรับปรุงสภาพแวดล้อมเมืองเก่าลำปาง, 2542.
[34] ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น. “ ‘ล่องสะเพา ชาวเวียงละกอน..., 2544, น.163
[35] ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น., บรรณาธิการ. ลำปางในมิติทางวัฒนธรรม(ลำปาง : ลำปางบรรณกิจพริ้นติ้ง), 2543.
[36]“ดรรชนีรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่นแยกตามปีพุทธศักราช” ใน อาษา, 2(2544), น.49
[37] สุรพล ดำริห์กุล. ลายคำล้านนา (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ), 2544.
[38] วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. วิหารล้านนา (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ), 2544.
[39] ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น, บรรณาธิการ. ลำปางเมื่อห้วงหนึ่งศตวรรษ, 2544.
[40] ศิลปวัฒนธรรม, 2(2544)
[41] หนังสือบันทึกข้อความของ ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง สำนักการช่าง เทศบาลนครลำปาง เลขที่ 37/2544 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2544 เรื่อง รายงานเหตุเพลิงไหม้ ลงนามโดย องอาจ ทาตะรัตน์ นายตรวจเขต 1
[42]ข่าวประชาสัมพันธ์ออนไลน์ . “ปตท. สืบสานประเพณี “ตีก๋องปู่จาฯ” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://www.ryt9.com/news/2007-04-04/9075068/ (4 เมษายน 2550).
[43] สัมภาษณ์ สายฝน น้อยหีด, 8 พฤษภาคม 2551 และ ทศพร บุญจันทร์. โลกล้านนา “พิธีสมโภชน์นครลำปาง 1,322 ปี” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.lannaworld.com/cgi/newsboard/reply_topic.php?id=39 (27 กรกฎาคม 2545)
[44] ธีรศักดิ์ วงศ์คำแน่น. เทคนิควิทยาพื้นบ้านภาคเหนือ จังหวัดลำปาง ตอนที่ 2 งานช่างสถาปัตยกรรมไทย (กรุงเทพฯ : คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา), 2545.
[45] วลัยลักษณ์ ทรงศิริ และวิวรรณ แสงจันทร์. แหล่งโบราณคดียุคดึกดำบรรพ์ที่ประตูผา จังหวัดลำปาง ภาพเขียนสี พิธีกรรม 3,000 ปี ที่ผาศักดิ์สิทธิ์ (กรุงเทพฯ : มติชน), 2545.
[46] โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาชีวิตสาธารณะและประชาคมที่เข้มแข็งเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่น่าอยู่และยั่งยืน. ความเคลื่อนไหวเพื่อท้องถิ่น ล้านคำลำปาง (กรุงเทพฯ : ประชุมช่าง), 2549.
[47] โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการฯ. ความเคลื่อนไหวเพื่อท้องถิ่น ล้านคำลำปาง , 2549.
[48] วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง. การศึกษาการจัดการทรัพยากรทางสังคมและวัฒนธรรม กรณีศึกษาจังหวัดลำปาง, ลำปาง : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง, 2546.
[49] กาสะลอง, 6(2546) แต่อย่างไรก็ตามบางหลักฐานระบุว่า แสน ธรรมยศ เกิดพ.ศ.2457 ได้แก่ อสิธารา(นามแฝง). งานและชีวิตของ ส.ธรรมยศ (กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า), 2531 ,น. 24 หรือ สุพจน์ แจ้งเร็ว, บรรณาธิการ. REX SIAMEN SIUM หรือ พระเจ้ากรุงสยาม (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : มติชน), 2547, น.(7)
[50] สำนักงานจังหวัดลำปางและวิทยาลัยโยนก. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
จังหวัดลำปาง, 2547.
[51] สำนักงานจังหวัดลำปางและวิทยาลัยโยนก. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการศึกษาเพื่อวางกรอบในการปรับปรุงและพัฒนาชุมชนกาดกองต้า(ตลาดจีน)อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง, 2547.
[52] โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการฯ. ความเคลื่อนไหวเพื่อท้องถิ่น ล้านคำลำปาง , 2549.
[53] ทนงศักดิ์ วิกุล. การศึกษาการรับรู้ของชุมชนต่อคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมในเขตเมือง : กรณีศึกษา เขตเทศบาลนครลำปาง วิทยานิพนธ์ การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนลีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2547.
[54] ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ . ASA Webboard ของ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. "เล่าข่าวสู่กันฟังปี 2547 ครับ" [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://www.asa.or.th/2008/index.php?q=node/92192 (1 กันยายน 2548)และ
ผู้จัดการออนไลน์ ."เครือข่ายชาวพุทธออกแถลงการณ์วอนหยุดนำศาสนวัตถุไปใช้เชิงพาณิชย์"[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9470000082383 (15 พฤศจิกายน 2547)
[55] โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการฯ. ความเคลื่อนไหวเพื่อท้องถิ่น ล้านคำลำปาง , 2549.
[56] คณะทำงานจัดทำร่างยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าลำปาง, ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่านครลำปาง พ.ศ.2549 – 2551, 2548.
[57] เกรียงไกร เกิดศิริ, บรรณาธิการ. ปงสนุก คนตัวเล็กกับการอนุรักษ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อี.ที. พับลิชชิ่ง), 2550.
[58] กลุ่มหน่อศิลป์. บ้านก่อ ช้างเผือกเมืองลำปาง พิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสเฉลิมฉลองการบูรณะวิหารและจิตรกรรมพื้นบ้าน วิหารบ้านก่อ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง วันที่ 15 มิถุนายน 2550 (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)), 2550.
[59] สรัสวดี อ๋องสกุล. ประชุมตำนานลำปาง, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548.
[60] สัมภาษณ์ ประสงค์ แสงแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9 พฤษภาคม 2551
[61] เกรียงไกร เกิดศิริ. ปงสนุก คนตัวเล็กกับการอนุรักษ์ (กรุงเทพฯ : อี.ที. พับลิชชิ่ง), 2550.
[62] หนังสือจาก งานเดินรถแขวงลำปาง เลขที่ ลป./ทด. 026/2549 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2549 เรื่อง ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากพื้นที่ของการรถไฟภายใน 3 เดือน ลงนามโดย นายวันไชย กองชีพ สารวัตรงานเดินรถแขวงลำปาง
[63] หนังสือจาก สำนักงานเทศบาลนครลำปาง เลขที่ ลป.52004/2735 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2549 เรื่อง การตรวจสอบการใช้อาคารให้มีความปลอดภัย ลงนามโดย นายสมเกียรติ อัญชนา ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่แทน นายกเทศมนตรีนครลำปาง

ไม่มีความคิดเห็น: