ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดเกาะวาลุการาม วาดโดย ป.สุวรรณสิงห์ แสดงเหตุการณ์เพลิงไหม้ ด้านขวามือจะเห็นขัวแตะข้ามจากวัดไปยังอีกฟากฝั่งแม่น้ำ ที่มา ภาณุพงษ์ เลาหสม. "จิตรกรรมฝาผนังล้านนา", กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2540, น.143

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2551

ความเคลื่อนไหวทางศิลปวัฒนธรรม ทศวรรษ2470-2480

ทศวรรษที่ 2470 :
2475
ปรากฏหลักฐานการตกแต่งหน้าบัน วัดปงหอศาล อ.แม่ทะ ทำเป็นรูปพานรัฐธรรมนูญ เขียนระบุว่าสร้าง 19 มีนาคม 2475 (นับตามปฏิทินใหม่คือ พ.ศ.2476)

2477
1)ปรากฏหลักฐานภาพถ่ายขบวนแห่งานฉลองรัฐธรรมนูญ จังหวัดลำปาง 27 สิงหาคม 2477 มีการระบุด้วยว่า พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีร่วมมาใน ขบวนครั้งนี้ด้วย[1]
2) ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยโบราณสถาน ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ และการ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พ.ศ. 2477

2478
1)ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานลำปาง ครั้งที่1 โดย กรมศิลปากร [2]
2)งานฉลองรัฐธรรมนูญ 7 วัน 7 คืน วันที่ 1-7 เมษายน สมาคมศิษย์เก่า ณ สนามเสือป่า โรงเรียนบุญวาทย์ฯ มีการประกวดนางงาม บุญวาทย์วิทยาลัย ประจำอำเภอ และประจำจังหวัด นางงามลำปางคนแรก (บว.) ได้แก่ นางสาวติ้วหลั่น แซ่จาง (เตียวตระกูล) อายุ 18 ปี และยังเป็นนางงามอำเภอเถินด้วย [3]

ทศวรรษที่ 2480 :
2482
มีการสร้างศิลปะวัตถุแบบคณะราษฎรที่ใช้สัญลักษณ์ รัฐธรรมนูญ ปรากฏในวัดปงสนุก อ.เมือง บริเวณ ปราสาทเฟื้องวิหารหลวงวัดปงสนุกเหนือ และคอสองวิหารพระเจ้าพันองค์

2482-2485
งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานฤดูหนาว เดือนธันวาคมถึง สมาคมศิษย์เก่า บว. ต้นเดือนมกราคม ณ สนามกีฬาโรงเรียนบุญวาทย์ฯ มีการประกวดนางงามลำปาง กิจกรรมการแสดงดนตรี กิจกรรมการออกร้านขายสินค้าทั้งภาครัฐและเอกชน[4]

2483
อารี ปิ่นแสง(จุลทรัพย์) นางงามเกาะคา เป็นรองนาวสาวไทยปีนี้ ต่อมาได้เป็นนางเองหนังเรื่อง “บ้านไร่นาเรา”[5]

2484-2488
เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลให้
- ตลาดเก๊าจาวถูกทิ้งระเบิดทางเครื่องบิน
- แจกจ่ายพระพิมพ์จากวิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปงสนุก เพื่อคุ้มครองในช่วงสงคราม

2486
ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยโบราณสถาน ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ และการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2486
....................................
เชิงอรรถ
[1] ศักดิ์ รัตนชัย. คู่มือประวัติศาสตร์ศึกษายุทธเวหาลำปาง เรื่อง ลำปางกับเหตุการณ์ญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่2, 2543, น.47
[2] กรมศิลปากร. การขึ้นทะเบียนโบราณสถานภาคเหนือ ในเขตความรับผิดชอบของ หน่วยศิลปากรที่ 4 ตาม โครงการสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานของ กองโบราณคดี (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร), 2525.
[3] ศักดิ์ รัตนชัย. คู่มือประวัติศาสตร์..., 2543, น.47-48 พูดถึงกำเนิดสมาคมศิษย์เก่าบุญวาทย์ฯ พ.ศ.2477 ซึ่งอาจจะสัมพันธ์กับการจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญ ในปีที่มีขบวนแห่รัฐธรรมนูญจำลอง ขณะที่ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น. “ ‘ล่องสะเพา ชาวเวียงละกอน’ : วาทกรรมของการท่องเที่ยว” ใน ลำปางเมื่อห้วงหนึ่งศตวรรษ (ลำปาง : จิตวัฒนาการพิมพ์), 2544, น.156-157 กล่าวถึงอย่างกว้างว่า เกิดช่วงพ.ศ.2482-2485
[4] ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น. “ ‘ล่องสะเพา ชาวเวียงละกอน’ : วาทกรรมของการท่องเที่ยว” ใน ลำปางเมื่อห้วงหนึ่งศตวรรษ, 2544, น.156-157
[5] ศักดิ์ รัตนชัย. คู่มือประวัติศาสตร์..., 2543, น.48

ไม่มีความคิดเห็น: